http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สมาร์ทไลฟ์ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ลดเสี่ยงเด็กไทยพิการแต่กำเนิด

สมาร์ทไลฟ์ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ลดเสี่ยงเด็กไทยพิการแต่กำเนิด

ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aged Society) เนื่องจากอัตราการเกิดของเด็กไทยลดลง จากปี พ.ศ.2555 จากอัตราการเกิดประมาณปีละ 8 แสนคน เหลือเพียง 5 แสนคนในปี 2565

                    นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า “อัตราการเกิดของเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีเหลืออยู่ประมาณ 500,000 คน เมื่อเทียบกับอัตราการตายหรือคนเสียชีวิตนั่นหมายถึงเรากำลังเผชิญภาวะเด็กเกิดน้อย ขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพของเด็กที่เกิด ตรงนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญเพราะเมื่อเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเราจะไม่มีเด็กที่เติบโตเข้าสู่วัยทำงานที่จะสร้างผลิตผลให้กับสังคมได้”

                    นอกเหนือจากปัญหาเรื่องการเกิดน้อย ด้อยคุณภาพยังพบปัญหาความพิการแต่กำเนิดของทารกที่ในปี 2564 พบว่ามีจำนวนมากถึง 2,600 คน อธิบดีกรมอนามัยกล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง และเป็นประเด็นสำคัญที่กรมอนามัยจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะการทำให้แม่ตั้งครรภ์คลอดและเด็กที่เกิดมีคุณภาพ

                    “หัวใจสำคัญในเรื่องนี้ที่ถือเป็นรากฐาน คือ งานอนามัยแม่และเด็กที่จะนำไปสู่การทำให้เด็กที่เกิดมาต้องรอดและการตายของแม่ควรเป็นศูนย์ ซึ่งที่ผ่านมาก็น่ายินดีว่า อัตราตายของแม่ที่เสียชีวิตหลังคลอดลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 197 รายในปี 2564 เหลือเพียง 129 รายในปี 2565” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

                    ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กรมอนามัยได้จัดงานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็กประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยห่างไกลความพิการแต่กำเนิด” โดยมีการเพิ่มส่วนสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมให้ลูกกินนมแม่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตสมส่วน เพื่อป้องกันการเป็นโรค NCDs ในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาเด็กให้สมวัยและเกินวัย

                    นพ.สุวรรณชัย ยังบอกด้วยว่าต้องทำความเข้าใจว่าทุกวันนี้เราไม่ได้เผชิญกับโรคและภัยสุขภาพแบบเดิม เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ แต่เรากำลังเผชิญกับโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่สำคัญคือ โรค NCDs ที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นโดยในกลุ่มนี้มีผู้ที่ตั้งครรภ์รวมอยู่ด้วย ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรค NCDs จึงมีความเสี่ยงมากขึ้น

                    “การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กสร้างองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายและสร้างความตระหนัก รู้เกี่ยวกับการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กให้เกิดความยั่งยืน” อธิบดีกรมอนามัยอธิบาย

                    นอกจากนี้กรมอนามัยได้ทำ Care Plan คือการวางแผนสำหรับดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงเป็นรายๆไปโดยเรามีความพร้อมด้านหลักประกันสุขภาพและเทคโนโลยี เครือข่ายบริการสาธารณสุขที่สำคัญคือการยกระดับคุณภาพการบริการให้เป็นการบริการในรายบุคคล โดยต้องให้หญิงตั้งครรภ์ครอบครัว และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเราจึงจำเป็นต้องสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งการทำงานไม่ใช่ให้หน่วยบริการทำเพียงฝ่ายเดียว เชื่อว่าการดำเนินตามแผนงานนี้ในหญิงตั้งครรภ์คลอดลูกออกมาได้อย่างปลอดภัยและลูกออกมาเกิดรอดและสมบูรณ์ ขณะเดียวกันก็สามารถดูแลในเรื่องภาวะโรค NCDs ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดเหตุไม่พึงประสงค์แก่ชีวิตได้

                    ด้านนางวนิดา เศลารักษ์ หัวหน้าพยาบาลพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาชนะชัย จ.ยโสธร หนึ่งในเครือข่ายที่เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่า การทำงานด้านอนามัยแม่และเด็กเป็นการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน ทั้งสถานีอนามัย ชุมชน และจังหวัด โดยมีตัวชี้วัดสำคัญคือ “ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย” เป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งการทำงานจะเน้นกลยุทธ์ทำให้แม่ปลอดภัยและลูกที่เกิดมาปลอดภัย เด็กมีสุขภาพดี

                    หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลมหาชนะชัยยังบอกด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีมาตรฐานในการดูแม่ที่มีภาวะเสี่ยงในทุกรูปแบบ เช่น แม่วัยรุ่นที่มีความไม่พร้อมด้านสรีระ ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กและตัวแม่เอง หรือแม่ที่เป็นโรค NCDs  ที่มีภาวะเสี่ยงอาจทำให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้ หรือ แม่อาจเสี่ยงมีโรครุนแรงมากยิ่งขึ้นและมีผลต่อเด็กเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดาและทารก จำเป็นต้องมีการป้องกันซึ่งในกลุ่มนี้จะมีการแนะนำให้ฝากครรภ์ในคลินิกที่ดูแลโรคเหล่านี้โดยเฉพาะ เพื่อดูแลคัดกรองโดยแพทย์และมีทีมสหสาขาช่วยดูแลเรื่องอาหารและยาต่างๆ ส่วนการดูแลเรื่องนมแม่จะเน้นตั้งแต่อยู่ในห้องคลอดเด็กต้องได้รับการดูดนมแม่ตั้งแต่อยู่บนเตียงคลอดเพื่อกระตุ้นให้น้ำนมแม่มาเร็วยิ่งขึ้น จะทำให้เด็กเกิดความผูกพันสามารถดื่มนมแม่ได้ยาวนานและเพียงพอ ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันของเด็กสูงขึ้น เด็กก็จะมีความแข็งแรงสมบูรณ์เติบโตได้อย่างสมวัย

https://www.thaihealth.or.th/%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%9f%e0%b9%8c-%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%94-%e0%b9%81/


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 07/05/2024
สถิติผู้เข้าชม1,753,487
Page Views2,018,735
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view